บาคาร่าเว็บตรง หมอมนูญ อธิบายสาเหตุที่ โรคอ้วน ถึงมีโอกาสเสี่ยงป่วยหนักหรือเสียชีวิตมากกว่า หากติดป่วยเป็นโรค โควิด วอนออกกำลังกายและระมัดระวังเป็นพิเศษ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก อธิบายถึงข้อว่าเพราะเหตุใดผู้ป่วยโรคอ้วนถึงเสี่ยงที่จะป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากกว่าผู้ป่วยคนอื่นๆ
โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “โรคอ้วนส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ไขมันภายในช่องท้องดันกล้ามเนื้อกระบังลมขึ้นไปในทรวงอกมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่
ไขมันที่ทรวงอกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นทำให้กล้ามเนื้อต้องออกแรงมากขึ้นเพื่อให้ทรวงอกขยายตัว แรงต้านมากขึ้นทำให้ปริมาตรของอากาศเข้าปอดน้อยลง หลอดลมอาจปิด ถุงลมของปอดส่วนล่างอาจแฟบ ทำให้การแลกเปลี่ยนของก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ส่งผลให้หายใจถี่ขึ้น เกิดภาวะออกซิเจนต่ำโดยเฉพาะเวลานอนหงาย
บอกภาวะอ้วนโดยใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) คำนวณจากน้ำหนักตัว(กิโลกรัม)และความสูง(เมตร)โดยใช้สูตร
BMI = น้ำหนัก(กิโลกรัม)/ ความสูง(เมตรยกกำลัง 2)
แบ่งระดับความอ้วนเป็นระดับต่างๆดังนี้
BMI 18.5-24.9 kg/m2 ปกติ
BMI 25.0- 29.9 kg/m2 ภาวะน้ำหนักตัวเกิน
BMI > 30 kg/m2 อ้วน
คนอ้วนมีภูมิคุ้มกันลดลง มีการอักเสบเรื้อรังเพิ่มขึ้น มีโอกาสลิ่มเลือดอุดตันตามอวัยวะต่างๆมากขึ้น
เมื่อคนอ้วนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื้อไวรัสจะแบ่งตัวในทางเดินหายใจมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ เกิดการอักเสบของปอดมากขึ้น ส่งผลให้มีการทำลายของเนื้อปอดมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ เนื่องจากความจุของปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าและออกของคนอ้วนลดลง ประกอบกับคนอ้วนเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดบ่อยขึ้น ทำให้ระบบหายใจของคนอ้วนล้มเหลวเร็วขึ้น ใส่เครื่องช่วยหายใจ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ คนที่น้ำหนักตัวเกินก็มีความเสี่ยงแต่น้อยกว่าคนอ้วน
ช่วงนี้คนอ้วน และคนที่น้ำหนักตัวเกินต้องพยายามลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารให้น้อยลง ออกกำลังกายกลางแจ้ง อย่าเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน สวมใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ อย่าเข้าไปในสถานที่ปิด คนอยู่กันเยอะๆ อากาศถ่ายเทไม่ดี รีบจองคิว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยด่วน”
คกก. ผู้พิการแห่งชาติ อนุมัติ มาตรการช่วยเหลือผู้พิการ ในช่วง โควิด-19
คกก. ผู้พิการแห่งชาติ เคาะ มาตรการช่วยเหลือผู้พิการ ในช่วง โควิด-19 : ขยายเวลาพักชำระหนี้-กู้ยืมเงินฉุกเฉิน-อายุบัตรผู้พิการคุ้มครองสวัสดิการ เตรียมเปิดโรงพยาบาลสนามผู้พิการ มาตรการช่วยเหลือผู้พิการ, โควิด-19 – นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (12 พ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ซึ่งมติที่ประชุม เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้พิการภายใต้สถานการณการแพร่ระบาดโควิด-19 กล่าวคือ
1.ขยายเวลามาตรการพักชำระหนี้เงินกู้ยืมประกอบอาชีพของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ถึงวันที่ 31 มี.ค. ปีหน้า จากที่ต้องสิ้นสุด 31 มี.ค. 64
2.ขยายเวลาการยื่นขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ กรณีฉุกเฉิน ที่ให้กู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ไม่มีดอกเบี้ย ปลอดชำระหนี้ จากที่จะหมดเขต สิ้นเดือนนี้ เป็นถึง 30 ก.ย. 64
ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอกู้ของแต่ละราย ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน นับแต่วันยื่นเรื่อง เพราะที่ผ่านมามีการดำเนินการที่ล่าช้า ทำให้ผู้พิการจำนวนมากเข้าไม่ถึงสินเชื่อ
ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ มีผู้พิการที่รอการพิจารณาเงินกู้ฉุกเฉิน อยู่ 1.2 หมื่นราย
3.แก้ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯให้องค์กรผู้พิการสามารถเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของผู้พิการได้ เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการกู้ยืมเงินกองทุนฯได้มากขึ้น
4.ขยายเวลาอายุบัตรประจำตัวผู้พิการออกไปหกเดือน เพื่อไม่ให้ผู้พิการที่บัตรฯจะหมดอายุในช่วงสถานการณ์โควิด19 ต้องลำบากในการเดินทางมาต่ออายุบัตร และเป็นการรักษาสิทธิและสวัสดิการคนพิการแม้บัตรจะหมดอายุก็ตาม ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 5 หมื่นคน
5.เสนอต่อศบค.พิจารณาจัดลำดับความสำคัญการฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มผู้พิการที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุและไม่มี7โรคเสี่ยงเรื้อรัง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 8 แสนคน
6.มอบหมายกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเผยแพร่คู่มือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 สำหรับคนพิการ
นอกจากมติที่ประชุมฯดังกล่าว นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า รองนายกฯ ยังได้ติดตามการเตรียมความพร้อมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้พิการ บาคาร่าเว็บตรง