แบบสำรวจในประเทศ ญี่ปุ่น พบว่าชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าประเทศกำลังประสบปัญหา ความเท่าเทียมทางเพศ ชี้สังคมหนุนผู้ชายมากกว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม สำนักข่าว เกียวโด รายงานว่า ชาวญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 60 ได้ร่วมแสดงความเห็นผ่านทางงานสำรวจ เปิดเผยว่ารู้สึกว่าสังคมญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หลังจากหน่วยงานวิจัยในกรุงโตเกียวได้สอบถามประชาชนชาวญี่ปุ่นในช่วงอายุ 18-79 ทั้งชายและหญิงกว่า 3,000 คน
โดยผู้ทำแบบสอบถามราวๆร้อยละ 64.3 เชื่อว่าผู้ชายจะได้รับการสนับสนุนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับขนบประเพณีมากกว่าผู้หญิง
ตามมาด้วยสถานที่ทำงาน, กฎหมาย และการถูกนำเสนอผ่านทางสื่อตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ทำแบบสำรวจเกือบร้อยละ 80 เชื่อว่าทางการญี่ปุ่นควรจะเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังมีผู้ทำแบบสอบถามอีกจำนวนหนึ่งเชื่อว่าความเท่าเทียมทางเพศในประเทศญี่ปุ่นน่าจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้
ซึ่งในแบบสอบถามยังได้ถามอีกว่า คิดว่าประเทศญี่ปุ่นจะใช้เวลาอีกกี่ปีก่อนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก โดยค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ระบุว่าน่าจะใช้เวลาอีกๆราว 27.9 ปี
ทีมวิจัยได้สรุปผลสำรวจครั้งนี้ว่ามุมมองชาวญี่ปุ่นต่อเรื่องความเท่าเทียมทางเพศนั้นเปลี่ยนไป ซึ่งทางญี่ปุ่นควรจะเร่งหามาตรการเพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศในประเทศ
ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องความเทียมทางเพศเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้หญิงดำรงตำแหน่งสภาผู้แทนราษฎรของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 46 จากสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 465 คน ซึ่งคิดเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าหลายประเทศที่มีค่าเฉลี่ยดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 25
นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบอีกว่าดัชนีความเท่าเทียมทางเพศของญี่ปุ่นอยู่ที่อันดับ 121 จาก 153 ประเทศ เมื่อปีที่ผ่านมา
ชาวอเมริกันได้จุดไฟ เผาแมสก์ เพื่อต่อต้านนโยบายบังคับให้สวมหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่ใช้ต่อต้านโรคโควิด-19
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม สำนักข่าว ABC รายงานว่า ประชาชนในรัฐไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมารวมตัวหน้ารัฐสภา และจุดไฟเผาหน้ากากอนามัย เพื่อเป็นการแสดงพลังประท้วงกฎหมายที่บังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายป้องกันโควิด
โดยผู้ประท้วงระบุว่า หน้ากากอนามัย จำกัดเสรีภาพในการดำรงชีวิต ซึ่งจากคลิปที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ยังแสดงให้เห็นว่าผู้ชุมนุมที่เป็นผู้ใหญ่ได้สนับสนุนให้เยาวชนโยนหน้ากากอนามัยลงกองเพลิง ท่ามกลางเสียงหัวเราะชอบใจของผู้ชุมนุม
นาย แบรด ลิตเติล ผู้ว่าการรัฐไอดาโฮ ไม่เคยประกาศใช้ให้ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยเวลา อย่างไรก็ตามมี 7 เทศมณฑล และ 11 เมืองภายในรัฐไอดาโฮที่ประกาศใช้นโยบายดังกล่าว ซึ่งทางการได้เสนอกฎห้ามไม่ให้ออกกฎหมายฉบับนี้และมีการหารือถึงนโยบายบังคับสวมใส่หน้ากากอนามัย
รัฐไอดาโฮมียอดผู้ป่วยสะสมโรคโควิด-19 มากกว่า 170,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสแล้วเกือบ 1,900 ศพ ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามียอดผู้ป่วยสะสมเกือบ 30 ล้านราย
เจ้าหน้าที่พรรค NLD ตาย คาห้องพักปริศนา คาดถูกซ้อม
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า เจ้าหน้าที่พรรค NLD ตาย ปริศนาคาห้อง คาดถูกซ้อมในห้องพักหลังสภาพศพมีรอยช้ำและเลือดออกหลายจุด เมื่อวันที่ 7 มีนาคม สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า นาย นายขิ่น หม่อง ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์หาเสียงของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) พรรคของนาง ออง ซาน ซูจี ถูกพบว่าเสียชีวิตภายในห้องขัง หลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารจับกุมที่นครย่างกุ้งเมื่อช่วงคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา
โดย ส.ส. พรรค NLD ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ยังไม่ทาบสาเหตุการเสียชีวิตของนายขิ่น หม่อง อย่างไรก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์ได้ระบุว่าสภาพของผู้เสียชีวิตนั้นมีรอยช้ำที่บริเวณศีรษะและลำตัว จึงเกิดเป็นข้อสังเกตว่าผู้ตายอาจถูกซ้อมหรือทรมาน ก่อนเสียชีวิต
ขณะที่สำนักข่าว อีรวดี ได้รายงานไปทิศทางเดียวกันว่า นายขิน หม่อง ถูกเตะและทำร้ายร่างกายในขณะถูกคุมขังในเรือนจำ ซึ่งนาย ขิน หม่อง ซึ่งเมื่อช่วงเช้าวันอาทิตย์ ครอบครัวของนายขิน หม่อง ได้รับรายงานว่าผู้ถูกคุมขังเสียชีวิตแล้ว โดยร่างกายและเสื้อผ้าเต็มไปด้วยรอยเลือด
สถานการณ์ชุมนุมประท้วงในประเทศเมียนมา ยังคงร้อนระอุอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ พล.อ.มิน อ่อง หล่าย ได้ยึดอำนาจ พร้อมจับกุมนาง อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา ในข้อหาโกงการเลือกตั้งเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ซึ่งพล.อ. มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมารับปาก จะจัดการเลือกตั้งทันทีหลังยึดอำนาจ 1 ปีตามที่ประกาศเอาไว้ ซึ่งจากการก่อรัฐประหารครั้งนี้นำไปสู่เหตุชุมนุมต่อเนื่องหลายวัน จนนำไปสู่เหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น และมีผู้เสียชีวิตรวมแล้วอย่างน้อย 50 ศพ และมีผู้ชุมนุมถูกจับกุมกว่า 1,700 คน
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง